Support
Fashionmom
081-8191023
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เรียนรู้การเป็นคุณแม่มือใหม่ เมื่อลูกร้องไห้

วันที่: 2016-01-22 15:06:07.0


เรียนรู้การเป็นคุณแม่มือใหม่เมื่อลูกร้องไห้

เมื่อถึงวันที่เราได้กลายเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว หลังจากการผ่านนาทีแห่งความตื่นเต้น ตื้นตันใจกับการมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาในครอบครัว คุณแม่มือใหม่หลายๆ คนอาจจะวิตกหรือกังวลในการดูแลลูกน้อย แท้จริงแล้วการเลี้ยงลูกก็คือศาสตร์อย่างนึง มันเป็นเหมือนงานศิลปะที่เราจะสรรสร้างเขาขึ้นมาโดยอาศัยสัญชาตญาณความเป็นแม่ บวกกับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของลูกน้อยอย่างถูกวิธี

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยจะเป็นช่วงที่คุณแม่มีสิ่งต่างๆ ที่จะต้องเรียนรู้และต้องปรับตัวกับลูกน้อยมากมายนัก เพราะสิ่งที่เด็กสามารถพูดสื่อสารกับแม่มีเพียง การร้องส่งเสียงออกมา ทั้งอาการร้องแบบตะเบงเสียง ร้องครางในลำคอ การยิ้ม รวมถึงการร้องไห้ยังคงเป็นวิธีที่ลูกใช้สื่อสารกับคุณแม่อยู่เสมอ เพื่อแสดงความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้องเพราะหิว ร้องเพราะเบื่อ ร้องเพราะไม่สบายตัว ร้องเพราะอึดอัด ร้องเพราะป่วย ร้องเพราะง่วง หรือร้องเพราะเปียก คุณแม่จึงจำเป็นต้องสังเกตและเรียนรู้ที่จะพยายามเข้าใจการสื่อสารของลูกว่าการร้องแต่ละแบบนั้น หมายถึงลูกต้องการจะสื่อถึงอะไรและต้องการสิ่งใด

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกร้องเพราะหิว

คุณแม่หลายคนอาจจะตกใจมากเมื่อเห็นลูกร้องไห้ ในช่วงขวบปีแรก ๆ ตั้งแต่เด็กลืมตาออกมาดูโลก โดยมากเด็กจะร้องไห้เพราะหิว ยิ่งถ้าเราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว เด็กจะหิวและร้องไห้เพื่อกินนมเฉลี่ยทุก 2-3 ชั่วโมง เพราะนมแม่จะย่อยง่ายกว่านมวัว และอาจจะทำให้เกิดการขับถ่ายบ่อย สังเกตได้ง่ายๆ คือเมื่อเด็กร้องเพราะหิวเขาจะผงกศีรษะขึ้น อ้าปาก หรือดูดปากตัวเอง หรือทำท่าเหมือนกำลังพยายามจะดูดอะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในปาก ดังนั้นการร้องไห้ทุก2-3 ชั่วโมง จึงถือเป็นเรื่องปกติเพราะหิว หรือเพราะเปียกไม่สบายตัว ที่สำคัญหลังจากลูกดูดนมเสร็จแล้วจะต้องจับเรอทุกครั้ง เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารของเด็กยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการดูดนมเข้าไปมากๆ บ่อยครั้งเด็กจะแหวะนมออกมาเล็กน้อยและอาจจะตามมาด้วยการเรอ หากลูกของเราดูดนมอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็อาจจะเผลอดูดอากาศเข้าไปด้วย วิธีง่ายๆ หาผ้าขาวสะอาดนุ่มๆวางรองบนบ่าของเราไว้ก่อน จากนั้นอุ้มลูกให้บริเวณคางของลูกวางอยู่บนผ้าขาวที่วางเตรียมไว้ แล้วก็ลูบหลังลูกเบาๆ ถ้าเด็กมีอาการตัวงอนิดหน่อย แสดงว่าในท้องของเขามีลม ให้อุ้มไว้สักพักเด็กก็จะแหวะนมหรือเรอออกมาเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการซักผ้าแหวะของลูกน้อยไป เรามีเคล็ดลับวิธีซักผ้าขาวมาฝากเพื่อให้ผ้าขาวสะอาดสดใสเหมือนเดิม

คลิกที่นี่

 

เข้าใจอาการของการกินนมเยอะเกินไป หรือ Over Feeding

 

การร้องของเด็กก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหิวเสมอไป บางครั้งเด็กอาจไม่ได้หิว ซึ่งคุณควรค่อยๆ ทำความเข้าใจว่าลูกต้องการสื่อสารอะไร เพราะการให้นมทุกครั้งที่เด็กร้องไห้อาจเป็นการเข้าใจผิด จนทำให้เด็กเรียนรู้จดจำโดยอัตโนมัติว่าทุกอย่างแก้ปัญหาด้วยการกิน ร้องแล้วได้กินทุกที เช่น ไม่ว่าจะเบื่อ เหงา หรือเศร้า เด็กจะทานนมเสมอเมื่อเราเอานมให้ดูดโดยสัญชาตญาณ พอเด็กกินนมในปริมาณมากจนเกินความสามารถของกระเพาะ จนทำให้เกิดภาวะการกินนมเยอะเกินไป หรือที่เรียกว่า Over feeding และเด็กมักมีอาการดังต่อไปนี้

 

·        พุงกางท้องโต โป่งตึง ไม่สบายตัว อึดอัดท้อง

·        บิดตัว เอี้ยวตัว เหยียดแขนเหยียดขา ร้องกวนส่งเสียงแอะ แอะ

·        เด็กอาจจะร้องไห้หนัก จนทำให้อาเจียนหรือแหวะออกมาทางปากหรือทางจมูก

·        มีเสียงครืดคราดคล้ายมีเสมหะในลำคอ เสียงดังกล่าวเกิดจากการเด็กที่กินนมมากจนล้นขึ้นมาที่คอหอย จนทำให้เด็กมีท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่อาเจียนออกมา

สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ลูกมีพฤติกรรมร้องหิวตลอด ก็อย่าได้ใจอ่อนโดยให้ลูกกินนมทุกครั้งเพราะรักและสงสารทนเห็นลูกร้องไม่ได้ และการที่เด็กมีนิสัยกินแบบ Over feeding ส่วนใหญ่ก็มาจากฝีมือคุณแม่นั่นเอง ฉะนั้นคุณแม่ต้องเบี่ยงเบนความสนใจของลูก โดยเล่นกับลูกหรือให้ดูดจุกหลอกแทน

 

ขอบคุณรูปภาพจาก Darren Johnson